ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956

การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 เป็นการจลาจลทั่วประเทศเพื่อต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนฮังการีและนโยบายที่กำหนดโดยสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ในครั้งนี้นับเป็นภัยคุกคามปกครองของสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรก นับแต่กองกำลังโซเวียตมีชัยชนะเหนือกองกำลังนาซีในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ายึดครองยุโรปตะวันออก เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม ถึง 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1956 ถึงแม้ว่าการก่อการครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่มีความสำคัญนำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในหลายทศวรรษต่อมา

การจลาจลเริ่มต้นขึ้นจากการประท้วงของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งดึงดูดสายตาของผู้คนนับพันที่พวกเขาเดินผ่านจากในกลางกรุงบูดาเปสต์จนถึงอาคารรัฐสภา มีการกระจายเสียงผ่านทางคลื่นวิทยุเรดิโอฟรียุโรป โดยอาศัยรถตู้ติดลำโพง เพื่อหาแนวร่วมจากประชาชนตามท้องถนน ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐได้กักกันผู้แทนนักเรียนนักศึกษาที่เข้าไปยังม็อดยอร์ ราดิโอเพื่อพยายามกระจายเสียงความต้องการของนักเรียนนักศึกษา ผู้ประท้วงด้านนอกได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปล่อยตัวผู้แทนนักเรียนนักศึกษา แต่สิ่งที่ได้รับกลับมาจากเจ้าหน้าที่คือกระสุนปืนซึ่งยิงออกมาจากด้านในอาคารสถานีวิทยุ เมื่อมีการยิงกระสุนปืนใส่กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาคนหนึ่งเสียชีวิต ผู้ประท้วงได้นำร่างของเขาห่อด้วยธงชาติและยกขึ้นเหนือฝูงชน จากเหตุการณ์นี้เองกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติฮังการี เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปก็เกิดความวุ่นวายและความรุนแรงขึ้นทั่วเมืองหลวงของประเทศ

การก่อจลาจลแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในประเทศฮังการี เป็นสาเหตุให้การเข้าปกครองของรัฐบาลสหภาพโซเวียตต้องหยุดชะงักลง ชาวฮังการีหลายพันคนรวมกลุ่มกันตั้งตัวเป็นกองกำลังทหารต่อสู้กับกลุ่มตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ (?llamv?delmi Hat?s?g) และกองทัพโซเวียต ในช่วงนี้มักมีการประหารชีวิตหรือจำคุกกลุ่มผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์โซเวียตและตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ สภาแรงงานหัวรุนแรงที่ตั้งขึ้นเฉพาะหน้าเข้าควบคุมการปกครองเทศบาลต่าง ๆ จากรัฐบาลกลางของพรรคประชาชนแรงงานฮังการีและเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลใหม่ประกาศยกเลิกตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐอย่างเป็นทางการ ประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัวออกจากสนธิสัญญาวอร์ซอและสัญญาจะจัดการเลือกตั้งอย่างเสรีขึ้นอีกครั้ง ในช่วงท้ายของเดือนตุลาคม การต่อสู้เริ่มลดน้อยลงและสัญญาณของสภาวะปกติเริ่มกลับมาอีกครั้ง

โปลิตบูโรเปลี่ยนความตั้งใจที่จะถอนกองกำลังทหารออกจากฮังการี และได้เคลื่อนพลเข้ายึดครองกรุงบูดาเปสต์และพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศอีกครั้งในวันที่ 4 พฤศจิกายน ชาวฮังการีจึงลุกขึ้นต่อต้าน แต่ด้วยความที่เหตุการณ์มีความรุนแรงมาก จึงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งฝ่ายฮังการีและโซเวียต โดยชาวฮังการีเสียชีวิตมากกว่า 2,500 คน ทหารโซเวียตเสียชีวิตมากกว่า 700 นาย และมีประชาชนอีกกว่า 200,000 คนที่หลบหนีออกนอกประเทศ มีการจับกุมและประณามกลุ่มมวลชนชาวฮังการีที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องหลายเดือน กระทั่งเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 โซเวียตจัดตั้งรัฐบาลฮังการีชุดใหม่ได้สำเร็จและได้กำจัดฝ่ายปรปักษ์ ทำให้โซเวียตมีอำนาจขึ้นเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออก เกิดความบาดหมางกับแนวคิดมาร์กซิสตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคิดการปกครองอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลในสมัยนั้น

รัฐบาลฮังการีในสมัยต่อมาห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติครั้งนี้ในที่สาธารณะเป็นเวลามากกว่า 30 ปี กระทั่งในทศวรรษที่ 1980 หัวข้อเกี่ยวกับการปฏิวัติได้กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์ เมื่อมีการสถาปนาสาธารณรัฐฮังการีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1989 วันที่ 23 ตุลาคมจึงได้รับการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

ประเทศฮังการีเป็นชาติสมาชิกของฝ่ายอักษะในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีสถานะเป็นชาติพันธมิตรของนาซีเยอรมนี อิตาลี โรมาเนียและบัลแกเรีย ในปี ค.ศ. 1941 กองทัพฮังการีมีส่วนร่วมในเหตุการณ์การยึดครองยูโกสลาเวียและปฏิบัติการบาร์บารอสซาร่วมกับชาติสมาชิกฝ่ายอักษะ อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตสามารถต้านทานการรุกรานจากฝ่ายอักษะได้ และเริ่มโต้กลับมุ่งหน้าสู่ฮังการีในปี ค.ศ. 1944

รัฐบาลฮังการีเริ่มการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตร เนื่องจากกลัวการรุกรานของกองทัพโซเวียต อย่างไรก็ตามการเจรจาต้องยุติลง เมื่อกองทัพนาซีเยอรมันรุกรานและยึดครองฮังการีและจัดตั้งรัฐบาลที่นิยมฝ่ายอักษะ กองกำลังของฮังการีและเยอรมนีที่ประจำอยู่ในฮังการีพ่ายแพ้ต่อกองทัพของสหภาพโซเวียต ซึ่งเข้ารุกรานฮังการีในปี ค.ศ. 1945

กองทัพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศฮังการีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้ประเทศฮังการีเป็นประเทศภายใค้เขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต ในขณะนั้นประเทศฮังการีปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบหลายพรรค ผลการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1945 ก่อให้เกิดการร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีซลตาน ติลดิ อย่างไรก็ตามพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบลัทธิเลนิน ได้รับคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น จึงเริ่มใช้ยุทธวิธีใส้กรอก ในการลดอิทธิพลของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

หลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1945 พรรคคอมมิวนิสต์ได้บังคับให้มีการโอนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีอำนาจดูแลตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐ (?llamv?delmi Hat?s?g, ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ?VH) จากพรรค Independent Smallholders สู่ผู้แทนของพรรคคอมมิวนิสต์ ตำรวจความมั่นคงแห่งรัฐใช้วิธีการข่มขู่ สร้างข้อกล่าวหาเท็จ จำคุกและทรมานเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ของระบอบประชาธิปไตยถึงจุดสิ้นสุด เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์รวมตัวกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย เพื่อก่อตั้งพรรคประชาชนแรงงานฮังการี ซึ่งชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งทางการเมืองอื่นในปี ค.ศ. 1949 ส่งผลให้เกิดการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนฮังการีในเวลาต่อมา และในปีเดียวกันนั้น สหภาพโซเวียตได้บรรลุสนธิสัญญาให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (Comecon) โดยรัฐบาลฮังการีอนุญาตให้โซเวียตสามารถคงกองกำลังทหารไว้ในประเทศได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมทางการเมือง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180